เลือกโครงการสุขภาพให้พนักงาน
สวัสดีครับวันนี้หมอบีจะมาชวนคุยเรื่อง การเลือกดำเนินการโครงการสุขภาพสำหรับพนักงานในสถานประกอบการครับ เชื่อว่าในสถานประกอบการหลายๆแห่งน่าจะมีปัญหานี้ครับคือ จะทำโครงการสุขภาพอย่างไรให้ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพของพนักงาน และจะทำการวัดผลอย่างไร บางสถานประกอบการเลือกทำโครงการสุขภาพที่สถานประกอบการอื่นๆแนะนำมาว่าทำแล้วดีแต่ถ้ามันไม่ตรงกับปัญหาของสถานประกอบการของเราทำไปก็ได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่าเท่ากับของคนที่เค้าแนะนำเรามา หมอบีอยากแนะนำว่าอย่างนี้ครับก่อนอื่นเราต้องรู้ให้ได้ก่อนครับว่า
สิ่งที่จะตอบได้ว่าอะไรเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่สุดนั้นเราดูได้จากหลายอย่างครับ เช่น ผลการตรวจสุขภาพประจำปี ผลการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง ข้อมูลการเจ็บป่วยและการลาหยุดของพนักงาน และผลการประเมินความเสี่ยงจากหน้างานครับ
ในการตรวจสุขภาพประจำปีทุกสถานประกอบการจะต้องมีการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงให้กับพนักงานตามที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว และอาจมีการตรวจสุขภาพทั่วไปบางรายการร่วมด้วย
ถ้าเราวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพทั้งตามปัจจัยเสี่ยง และตรวจสุขภาพทั่วไปให้ดี เราจะรู้ครับว่าแต่ละปัจจัยเสี่ยงในการทำงานนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานแล้วหรือยัง ปัจจัยเสี่ยงไหนหรือแผนกไหนควรได้รับการแก้ไขและควบคุมความเสี่ยงเป็นลำดับแรก เช่น แผนกที่มีผลการเปลี่ยนแปลงการได้ยินจากข้อมูลพื้นฐานในพนักงานหลายๆคนควรจะต้องทบทวนความเสี่ยงการทำงานกับเสียงดังในพื้นที่
ผลการตรวจหลายๆรายการเราอาจนำมาวิเคราะห์หาพนักงานกลุ่มที่อาจไม่สมบูรณ์พร้อมในการทำงาน เช่นพนักงานขับรถที่มีผลสมรรถภาพการมองเห็นระยะไกลที่ผิดปกติ หรือพนักงานที่มีผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจว่าอาจเป็นโรคหัวใจขาดเลือดรุนแรงแต่ต้องเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ
สำหรับผลการตรวจสุขภาพทั่วไปนั้น เราสามารถเอามาวิเคราะห์ได้ว่าพนักงานมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรเช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือดสูง และเลือกทำโครงการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้กับพนักงานได้ เช่นโครงการให้ความรู้ สุขศึกษา สำหรับพนักงานให้ปรับพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
นอกจากนี้บางสถานประกอบการที่มีการตรวจสมรรถภาพกล้ามเนื้ออาจนำผลการตรวจมาใช้ทำโครงการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและออกกำลังกาย เพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้พนักงานได้
ส่วนข้อมูลการเจ็บป่วยและการลาหยุดของพนักงานจะสามารถบอกเราได้เหมือนกันครับว่าพนักงานมักลาป่วยจากอะไร โรคอะไร ทั้งโรคทางการแพทย์ และโรคทางการเมืองครับ อิอิ
ทั้งนี้ต้องวางระบบการเก็บข้อมูลของห้องพยาบาล และข้อมูลการลาของพนักงานให้ดี เพื่อจะเอามาวิเคราะห์ร่วมกับผลการตรวจสุขภาพก็จะทำได้ง่าย หมอบีแนะนำให้เก็บเป็น Digital File นะครับทั้งผลการตรวจสุขภาพ ข้อมูลการเจ็บป่วยและการลาหยุดของพนักงานเลยครับ
จะเห็นได้ว่าผลการตรวจสุขภาพนั้นมีประโยชน์มากหากนำผลตรวจสุขภาพมาวิเคราะห์ได้ถูกวิธีและอีกอย่างที่สำคัญคือการตรวจสุขภาพนั้นต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เพราะถ้าตรวจแบบขอไปทีคุณภาพต่ำๆแบบที่บริษัทรับตรวจสุขภาพส่วนใหญ่ทำนั้น ผลที่ได้มักจะไม่สะท้อนภาพปัญหาที่แท้จริงของสถานประกอบการครับ
หมอบีเล่ารายละเอียดเพิ่มเติมให้แล้วนะครับว่าทำอย่างไรจึงจะได้รับบริการตรวจสุขภาพที่ได้มาตรฐานและสำหรับครั้งต่อไปจะมาชวนคุยเกี่ยวกับการนำผลตรวจสุขภาพมาวิเคราะห์อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับวันนี้ ขอบคุณครับ
เชิญทำความรู้จักกับหมอบีได้ที่นี่ครับ รู้จักกับ"DOCTOR BEE"
หรือติดต่อหมอบีเชิญที่นี่เลยครับ ติดต่อ "DOCTOR BEE"
ปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่สุดของพนักงานในสถานประกอบการเราคืออะไร ???
ภาพตัวอย่างโครงการโภชนาการเพื่อสุขภาพของพนักงาน
สิ่งที่จะตอบได้ว่าอะไรเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่สุดนั้นเราดูได้จากหลายอย่างครับ เช่น ผลการตรวจสุขภาพประจำปี ผลการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง ข้อมูลการเจ็บป่วยและการลาหยุดของพนักงาน และผลการประเมินความเสี่ยงจากหน้างานครับ
ในการตรวจสุขภาพประจำปีทุกสถานประกอบการจะต้องมีการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงให้กับพนักงานตามที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว และอาจมีการตรวจสุขภาพทั่วไปบางรายการร่วมด้วย
ถ้าเราวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพทั้งตามปัจจัยเสี่ยง และตรวจสุขภาพทั่วไปให้ดี เราจะรู้ครับว่าแต่ละปัจจัยเสี่ยงในการทำงานนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานแล้วหรือยัง ปัจจัยเสี่ยงไหนหรือแผนกไหนควรได้รับการแก้ไขและควบคุมความเสี่ยงเป็นลำดับแรก เช่น แผนกที่มีผลการเปลี่ยนแปลงการได้ยินจากข้อมูลพื้นฐานในพนักงานหลายๆคนควรจะต้องทบทวนความเสี่ยงการทำงานกับเสียงดังในพื้นที่
ผลการตรวจหลายๆรายการเราอาจนำมาวิเคราะห์หาพนักงานกลุ่มที่อาจไม่สมบูรณ์พร้อมในการทำงาน เช่นพนักงานขับรถที่มีผลสมรรถภาพการมองเห็นระยะไกลที่ผิดปกติ หรือพนักงานที่มีผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจว่าอาจเป็นโรคหัวใจขาดเลือดรุนแรงแต่ต้องเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ
สำหรับผลการตรวจสุขภาพทั่วไปนั้น เราสามารถเอามาวิเคราะห์ได้ว่าพนักงานมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรเช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือดสูง และเลือกทำโครงการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้กับพนักงานได้ เช่นโครงการให้ความรู้ สุขศึกษา สำหรับพนักงานให้ปรับพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ
นอกจากนี้บางสถานประกอบการที่มีการตรวจสมรรถภาพกล้ามเนื้ออาจนำผลการตรวจมาใช้ทำโครงการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและออกกำลังกาย เพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้พนักงานได้
ส่วนข้อมูลการเจ็บป่วยและการลาหยุดของพนักงานจะสามารถบอกเราได้เหมือนกันครับว่าพนักงานมักลาป่วยจากอะไร โรคอะไร ทั้งโรคทางการแพทย์ และโรคทางการเมืองครับ อิอิ
ทั้งนี้ต้องวางระบบการเก็บข้อมูลของห้องพยาบาล และข้อมูลการลาของพนักงานให้ดี เพื่อจะเอามาวิเคราะห์ร่วมกับผลการตรวจสุขภาพก็จะทำได้ง่าย หมอบีแนะนำให้เก็บเป็น Digital File นะครับทั้งผลการตรวจสุขภาพ ข้อมูลการเจ็บป่วยและการลาหยุดของพนักงานเลยครับ
จะเห็นได้ว่าผลการตรวจสุขภาพนั้นมีประโยชน์มากหากนำผลตรวจสุขภาพมาวิเคราะห์ได้ถูกวิธีและอีกอย่างที่สำคัญคือการตรวจสุขภาพนั้นต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เพราะถ้าตรวจแบบขอไปทีคุณภาพต่ำๆแบบที่บริษัทรับตรวจสุขภาพส่วนใหญ่ทำนั้น ผลที่ได้มักจะไม่สะท้อนภาพปัญหาที่แท้จริงของสถานประกอบการครับ
หมอบีเล่ารายละเอียดเพิ่มเติมให้แล้วนะครับว่าทำอย่างไรจึงจะได้รับบริการตรวจสุขภาพที่ได้มาตรฐานและสำหรับครั้งต่อไปจะมาชวนคุยเกี่ยวกับการนำผลตรวจสุขภาพมาวิเคราะห์อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับวันนี้ ขอบคุณครับ
เชิญทำความรู้จักกับหมอบีได้ที่นี่ครับ รู้จักกับ"DOCTOR BEE"
หรือติดต่อหมอบีเชิญที่นี่เลยครับ ติดต่อ "DOCTOR BEE"