วิเคราะห์และแปลผลตรวจสุขภาพ
สวัสดีครับ วันนี้หมอบีจะชวนคุยเรื่องการวิเคราะห์และการแปลผลตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงครับ สถานประกอบการส่วนใหญ่เมื่อตรวจสุขภาพประจำปีแต่ละปีเสร็จแล้วมักจะเอาผลการตรวจสุขภาพภาพรวมของพนักงานทั้งหมดเก็บไว้เฉยๆบนหิ้ง มีสถานประกอบการเพียงบางแห่งเท่านั้นที่เอาผลการตรวจสุขภาพมาวิเคราะห์ และที่น้อยกว่านั้นคือสถานประกอบการที่เข้าใจว่าผลการตรวจสุขภาพแต่ละรายการต้องวิเคราะห์ผลอย่างไร ไม่ใช่แค่เอาการแปลผลของบริษัทตรวจสุขภาพมาดูร้อยละของผลที่ปกติหรือผิดปกติ และรู้ว่าทำไมถึงต้องวิเคราะห์ผลเช่นนั้น จึง
มีสถานประกอบการไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ใช้ผลตรวจสุขภาพได้คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่จ่ายไปแต่ละปีและบางอย่างเป็นสิ่งที่ต้องทำตามกฎหมายด้วยครับ
ก่อนจะอ่านรายละเอียดกันต่อแนะนำให้ไปกดไลค์ที่แฟนเพจ DoctorBee กันก่อนนะครับจะได้รู้จักกันครับ ^^
ในแต่ละปีที่เราดำเนินการตรวจสุขภาพให้กับพนักงานทั้ง ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง และ ตรวจสุขภาพทั่วไป นั้น เมื่อเราได้ข้อมูลผลการตรวจสุขภาพที่ได้มาตรฐานกลับคืนมาจากผู้ให้บริการรับตรวจสุขภาพแล้ว ควรจะมีการนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพอย่างเหมาะสม (Health Data Analysis) เพื่อให้สามารถนำข้อมูลผลการตรวจสุขภาพไปใช้ประโยชน์สูงสุดครับ ผลการตรวจสุขภาพที่ดีมีคุณค่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวังโรคให้กับพนักงาน และประเมินได้ว่าพนักงานคนใดอาจไม่พร้อมในการทำงานบางอย่างด้วยปัญหาสุขภาพ
แนะนำให้อ่านบทความเรื่อง เลือกทำโครงการสุขภาพให้เหมาะกับปัญหาสุขภาพของพนักงานในสถานประกอบการ ก่อนนะครับ ^^
การวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพของบริษัทรับตรวจสุขภาพโดยทั่วไปนั้นจะวิเคราะห์มาให้ว่ามีพนักงานรายใดที่มีผลการตรวจผิดปกติบ้าง ผิดปกติร้อยละเท่าไหร่ เกณฑ์ที่จะใช้คัดแยกความผิดปกตินั้นมักอ้างอิงจากค่ามาตรฐานห้องแลป หรือค่ามาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน เกณฑ์จากหน่วยงานราชการหรือสมาคมต่างๆ บางครั้งอาจไม่ระบุมาให้ชัดเจนว่าใช้ค่าอ้างอิงจากแหล่งใด
แต่การวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพที่หมอบีกำลังจะแนะนำนั้นคือ นอกจากการวิเคราะห์หาพนักงานที่ผลการตรวจมีความผิดปกติทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มแล้ว
ควรแยกออกมาด้วยว่าความผิดปกติที่ตรวจพบนั้นเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่
บ่อยครั้งที่ความผิดปกติที่พบจากค่าของการตรวจแต่อาจไม่ใช่ความผิดปกติจริงๆของพนักงาน เช่นค่าน้ำตาลในกระแสเลือด 101 หน่วย จะเห็นว่าเกินจากค่าอ้างอิงห้องแลปที่ 100 หน่วย แต่ไม่ใช่ว่าพนักงานคนนี้จะเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งการจะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานนั้นต้องอาศัยการเจาะเลือดที่ต้องงดอาหารมาช่วงระยะเวลาหนึ่งและใช้เกณฑ์ตัดที่ 126 หน่วย จะเห็นได้ว่ากรณีนี้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่อาจต้องพิจารณาว่า
เกณฑ์สำหรับค่าความผิดปกตินั้นเป็นเกณฑ์ทางการแพทย์หรือเป็นเกณฑ์ค่ามาตรฐานจากห้องปฏิบัติการหรือเป็นเกณฑ์จากหน่วยงานอื่นใด
ถ้าต้องการจะเฝ้าระวังโรคจากการทำงานให้พนักงานควรใช้เกณฑ์เพื่อการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน แต่ถ้าต้องการประเมินความสมบูรณ์พร้อมในการทำงานควรใช้เกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในแต่ละลักษณะการทำงานนั้นๆ นอกจากนี้แล้วความผิดปกติที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่อาจต้องพิจารณาทางการแพทย์ด้านอื่นๆประกอบด้วยนะครับ และบางครั้งอาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติมครับ และอีกประเด็นที่ควรพิจารณาคือ
ตัวอย่าง เช่น ผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน เกณฑ์ที่ใช้รายงานว่าปกติหรือผิดปกติอาจใช้ของหน่วยงานต่างเช่น เกณฑ์สมาคมของแพทย์เฉพาะทางอาชีวเวชศาสตร์ ที่เรียกกันว่า สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม หรือ เกณฑ์ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแห่งประเทศไทย หรือ เกณฑ์สมาคมสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในสังกัดกรมควบคุมโรค เป็นต้น
บริษัทรับตรวจสุขภาพมักจะใช้เกณฑ์การแปลผลการได้ยินแบบครั้งเดียว (One Shot Interpretation) จะได้ผลที่แปลว่าผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินครั้งล่าสุดนี้ผิดปกติหรือไม่เท่านั้น แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือเปล่า จริงๆแล้วยังมี
สิ่งที่ต้องทำตามกฎหมาย คือ
การแปลผลแบบเทียบกับการตรวจครั้งก่อนๆ หรือที่เรียกว่าเกณฑ์การแปลผลแบบเทียบ(Longitudinal Interpretation) เช่น Standard Threshold Shift ของ OSHA หรือ Significant Threshold Shift ของ NIOSH แบบเดียวกับที่กฎหมายกำหนดไว้ใน ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินพ.ศ. 2553 ข้อ 6 และข้อ 7 ซึ่งจะช่วยคัดแยกพนักงานที่มีความผิดปกติมาแต่เดิม ซึ่งเป็นความผิดปกติความผิดปกติที่ไม่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในการทำงานช่วงปีที่ผ่านมาออกไปครับ
นอกจาการพิจารณาว่าความผิดปกตินั้นเกิดความผิดปกติที่มีมาแต่เดิมของพนักงานหรือไม่แล้วเรายังควรพิจารณาเพิ่มว่า
ความผิดปกติเป็นจากสาเหตุในการทำงานหรือเกิดจากสาเหตุอื่นนอกเหนือจากการทำงาน
การวิเคราะห์ความผิดปกติเป็นจากสาเหตุในการทำงานหรือเกิดจากสาเหตุอื่นนอกเหนือจากการทำงาน หรือที่เรียกว่า การวินิจฉัยโรคจากการทำงาน นั้นต้องอาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการวินิจฉัยโรคจากการทำงานและประสบการณ์ของแพทย์เฉพาะทางอาชีวเวชศาสตร์ในการวินิจฉัยโรคจากการทำงานต่างๆครับ
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะพิจารณาว่า
ความผิดปกติที่ตรวจพบนั้นเป็นความผิดปกติทางการสัมผัส (Biomarker of Exposure) หรือเป็นความผิดปกติที่เป็นพยาธิสภาพหรือมีความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย (Biomarker of Effect)
ความผิดปกติที่เป็นพยาธิสภาพมีความสอดคล้องสัมพันธ์กับความผิดปกติทางการสัมผัสหรือไม่
ความผิดปกติทางการสัมผัสนั้นสอดคล้องหรือขัดแย้งกับผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมอย่างไร
ความผิดปกติทางการสัมผัสนั้นจะต้องดำเนินการสอบสวนและควบคุมความเสี่ยงในการสัมผัสอย่างไร
ความผิดปกติที่เป็นพยาธิสภาพนั้นเป็นโรคจากการทำงานหรือไม่และจะต้องดำเนินการรักษาและป้องกันอย่างไร
นอกจากใช้วินิจฉัยเพื่อเฝ้าระวังโรคจากการทำงานแล้ว ผลการตรวจสุขภาพยังสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ได้ว่า ความผิดปกตินั้นจะส่งผลต่อความสมบูรณ์พร้อมในการทำงานของพนักงานต่อไปข้างหน้าอย่างไร โดยต้องพิจารณาจากลักษณะการทำงานของพนักงานแต่ละคนแต่ละตำแหน่งเป็นสำคัญว่าการทำงานนั้นจะต้องใช้งานสมรรถภาพทางร่างกายอะไรบ้าง และผลตรวจที่ผิดปกติที่ตรวจพบนั้นจะส่งผลต่อสมรรถภาพทางร่างกายอย่างไรบ้าง หากพนักงานที่มีผลการตรวจสุขภาพผิดปกติแบบต่างๆไปทำงานนั้นแล้วจะเกิดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของตัวพนักงาน ความเสี่ยงต่อเพื่อนร่วมงาน และความเสี่ยงต่อทรัพย์สินของทางสถานประกอบการอย่างไรบ้าง
จะเห็นว่าการวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพเหล่านี้ต้องอาศัยองค์ความรู้เรื่องระบาดวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักสถิติทางการแพทย์ และการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน ของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ครับ
หลังจากการวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพ เสร็จสิ้นแล้ว ผลการวิเคราะห์สามารถนำไปใช้ประกอบ การประเมินความเสี่ยง ครั้งต่อไปร่วมกับผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมได้ครับและสามารถใช้ผลการประเมินความเสี่ยงครั้งใหม่นี้เป็นข้อมูลประกอบการปรับรายการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงปีต่อไปได้ ข้อมูลผลการวิเคราะห์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มนั้นควรถ่ายทอดกลับสู่สถานประกอบการและพนักงาน
จะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นหากดำเนินการโดยผู้มีความรู้ทางด้านสุขภาพและอาชีวเวชศาสตร์อย่างแท้จริงจะสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า เมื่อสถานประกอบการจ้างให้บริษัทตรวจสุขภาพให้ดำเนินการตรวจสุขภาพให้กับพนักงานแล้วหากไม่แน่ใจว่าบริษัทตรวจสุขภาพวิเคราะห์ข้อมูลได้ตามที่หมอบีแนะนำแล้ว สถานประกอบการควรที่จะขอข้อมูลดิบ(Raw Data) ที่เป็นดิจิตอลไฟล์ (Digital File)เก็บไว้
ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการตรวจสุขภาพครั้งต่อๆไป และหาแพทย์อาชีวเวชศาสตร์วุมิบัตรหรือมีหนังสืออนุมัติที่มีความรู้และประสบการณ์มาช่วยทำการวิเคราะห์ครับ
การถ่ายทอดข้อมูลกลับ (FeedbackSystem) สู่สถานประกอบการและพนักงานเป็นขั้นตอนสุดท้ายของระบบการเฝ้าระวังโรคจากการทำงานนอกเหนือจากการคืนรูปเล่มสรุปผลการตรวจรายกลุ่มให้สถานประกอบการ และผลการตรวจรายบุคคลให้พนักงานแต่ละคนแล้ว การถ่ายทอดข้อมูลกลับควรดำเนินการอย่างเป็นระบบโดยอาศัยทักษะในการสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพ (Health Risk Communication Skills) อาจดำเนินการได้โดยผู้ที่มีความรู้ด้านสุขภาพเป็นอย่างดีเช่น แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ และ/หรือ พยาบาลอาชีวอนามัย เพื่อให้พนักงานเข้าใจถึงความเสี่ยงและภาวะสุขภาพของตนเอง และนำไปดำเนินการแก้ไข รักษาและป้องกันได้ โดยไม่เกิดอาการตื่นตระหนกมีลำดับชั้นในการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม โดยตระหนักว่า
แม้สถานประกอบการจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพแต่ผลการตรวจสุขภาพของพนักงานเป็นข้อมูลที่เป็นความลับของคนพนักงานที่แพทย์และพยาบาลต้องเก็บรักษาไว้ และการนำเสนอข้อมูลในภาพรวมมีไว้เพื่อการวางแผนดูแลรักษาเท่านั้น ไม่ควรให้เกิดการกีดกันแบ่งแยก (Discrimination) ด้วยผลจากการตรวจสุขภาพ
หลังจากการถ่ายทอดข้อมูลกลับสู่สถานประกอบการและพนักงานแล้วควรทำให้เป็นวงจรที่สมบูรณ์
วงจรที่สมบูรณ์คือ มีการเก็บข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปภายหลังการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อลดความเสี่ยงทั้งข้อมูลผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม ข้อมูลผลการตรวจวัดการสัมผัส และข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อนำเข้าสู่การประเมินความเสี่ยงครั้งต่อไป
การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในปัจจุบันยังกระทำเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้นในสถานประกอบการส่วนใหญ่ เมื่อไม่มีการนำผลการตรวจสุขภาพมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดทำให้สถานประกอบการรู้สึกว่าการตรวจสุขภาพนั้นไม่ได้รับผลตอบแทนกลับสู่สถานประกอบการอย่างคุ้มค่า
การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงนั้นจะถูกใช้ประโยชน์ได้เต็มที่เมื่อนำมาวิเคราะห์อย่างเหมาะสมสำหรับการเฝ้าระวังโรคจากการทำงานและโรคทั่วไป และสำหรับการคัดเลือกพนักงานที่มีสุขภาพสมบูรณ์พร้อมในการทำงานต่อไป ซึ่งต้องอาศัยองค์ความรู้และประสบการณ์ของวิชาชีพต่างๆ เป็นการทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพ ในการวางระบบเฝ้าระวังโรคเพื่อให้สามารถนำผลการตรวจสุขภาพมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า
มีสถานประกอบการไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ใช้ผลตรวจสุขภาพได้คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่จ่ายไปแต่ละปีและบางอย่างเป็นสิ่งที่ต้องทำตามกฎหมายด้วยครับ
ก่อนจะอ่านรายละเอียดกันต่อแนะนำให้ไปกดไลค์ที่แฟนเพจ DoctorBee กันก่อนนะครับจะได้รู้จักกันครับ ^^
ในแต่ละปีที่เราดำเนินการตรวจสุขภาพให้กับพนักงานทั้ง ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง และ ตรวจสุขภาพทั่วไป นั้น เมื่อเราได้ข้อมูลผลการตรวจสุขภาพที่ได้มาตรฐานกลับคืนมาจากผู้ให้บริการรับตรวจสุขภาพแล้ว ควรจะมีการนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพอย่างเหมาะสม (Health Data Analysis) เพื่อให้สามารถนำข้อมูลผลการตรวจสุขภาพไปใช้ประโยชน์สูงสุดครับ ผลการตรวจสุขภาพที่ดีมีคุณค่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวังโรคให้กับพนักงาน และประเมินได้ว่าพนักงานคนใดอาจไม่พร้อมในการทำงานบางอย่างด้วยปัญหาสุขภาพ
แนะนำให้อ่านบทความเรื่อง เลือกทำโครงการสุขภาพให้เหมาะกับปัญหาสุขภาพของพนักงานในสถานประกอบการ ก่อนนะครับ ^^
ภาพการวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพ จาก www.phvne.com
การวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพของบริษัทรับตรวจสุขภาพโดยทั่วไปนั้นจะวิเคราะห์มาให้ว่ามีพนักงานรายใดที่มีผลการตรวจผิดปกติบ้าง ผิดปกติร้อยละเท่าไหร่ เกณฑ์ที่จะใช้คัดแยกความผิดปกตินั้นมักอ้างอิงจากค่ามาตรฐานห้องแลป หรือค่ามาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน เกณฑ์จากหน่วยงานราชการหรือสมาคมต่างๆ บางครั้งอาจไม่ระบุมาให้ชัดเจนว่าใช้ค่าอ้างอิงจากแหล่งใด
แต่การวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพที่หมอบีกำลังจะแนะนำนั้นคือ นอกจากการวิเคราะห์หาพนักงานที่ผลการตรวจมีความผิดปกติทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มแล้ว
ควรแยกออกมาด้วยว่าความผิดปกติที่ตรวจพบนั้นเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่
บ่อยครั้งที่ความผิดปกติที่พบจากค่าของการตรวจแต่อาจไม่ใช่ความผิดปกติจริงๆของพนักงาน เช่นค่าน้ำตาลในกระแสเลือด 101 หน่วย จะเห็นว่าเกินจากค่าอ้างอิงห้องแลปที่ 100 หน่วย แต่ไม่ใช่ว่าพนักงานคนนี้จะเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งการจะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานนั้นต้องอาศัยการเจาะเลือดที่ต้องงดอาหารมาช่วงระยะเวลาหนึ่งและใช้เกณฑ์ตัดที่ 126 หน่วย จะเห็นได้ว่ากรณีนี้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่อาจต้องพิจารณาว่า
เกณฑ์สำหรับค่าความผิดปกตินั้นเป็นเกณฑ์ทางการแพทย์หรือเป็นเกณฑ์ค่ามาตรฐานจากห้องปฏิบัติการหรือเป็นเกณฑ์จากหน่วยงานอื่นใด
ถ้าต้องการจะเฝ้าระวังโรคจากการทำงานให้พนักงานควรใช้เกณฑ์เพื่อการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน แต่ถ้าต้องการประเมินความสมบูรณ์พร้อมในการทำงานควรใช้เกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในแต่ละลักษณะการทำงานนั้นๆ นอกจากนี้แล้วความผิดปกติที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่อาจต้องพิจารณาทางการแพทย์ด้านอื่นๆประกอบด้วยนะครับ และบางครั้งอาจต้องทำการตรวจเพิ่มเติมครับ และอีกประเด็นที่ควรพิจารณาคือ
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจริงนั้นเป็นของใหม่หรือเป็นความผิดปกติที่มีมาแต่เดิมของพนักงาน
ภาพการวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อดูแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง จาก www.bms.co.in
ตัวอย่าง เช่น ผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน เกณฑ์ที่ใช้รายงานว่าปกติหรือผิดปกติอาจใช้ของหน่วยงานต่างเช่น เกณฑ์สมาคมของแพทย์เฉพาะทางอาชีวเวชศาสตร์ ที่เรียกกันว่า สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม หรือ เกณฑ์ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแห่งประเทศไทย หรือ เกณฑ์สมาคมสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมในสังกัดกรมควบคุมโรค เป็นต้น
บริษัทรับตรวจสุขภาพมักจะใช้เกณฑ์การแปลผลการได้ยินแบบครั้งเดียว (One Shot Interpretation) จะได้ผลที่แปลว่าผลการตรวจสมรรถภาพการได้ยินครั้งล่าสุดนี้ผิดปกติหรือไม่เท่านั้น แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือเปล่า จริงๆแล้วยังมี
สิ่งที่ต้องทำตามกฎหมาย คือ
การแปลผลแบบเทียบกับการตรวจครั้งก่อนๆ หรือที่เรียกว่าเกณฑ์การแปลผลแบบเทียบ(Longitudinal Interpretation) เช่น Standard Threshold Shift ของ OSHA หรือ Significant Threshold Shift ของ NIOSH แบบเดียวกับที่กฎหมายกำหนดไว้ใน ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินพ.ศ. 2553 ข้อ 6 และข้อ 7 ซึ่งจะช่วยคัดแยกพนักงานที่มีความผิดปกติมาแต่เดิม ซึ่งเป็นความผิดปกติความผิดปกติที่ไม่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมในการทำงานช่วงปีที่ผ่านมาออกไปครับ
นอกจาการพิจารณาว่าความผิดปกตินั้นเกิดความผิดปกติที่มีมาแต่เดิมของพนักงานหรือไม่แล้วเรายังควรพิจารณาเพิ่มว่า
ความผิดปกติเป็นจากสาเหตุในการทำงานหรือเกิดจากสาเหตุอื่นนอกเหนือจากการทำงาน
การวิเคราะห์ความผิดปกติเป็นจากสาเหตุในการทำงานหรือเกิดจากสาเหตุอื่นนอกเหนือจากการทำงาน หรือที่เรียกว่า การวินิจฉัยโรคจากการทำงาน นั้นต้องอาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการวินิจฉัยโรคจากการทำงานและประสบการณ์ของแพทย์เฉพาะทางอาชีวเวชศาสตร์ในการวินิจฉัยโรคจากการทำงานต่างๆครับ
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะพิจารณาว่า
ความผิดปกติที่ตรวจพบนั้นเป็นความผิดปกติทางการสัมผัส (Biomarker of Exposure) หรือเป็นความผิดปกติที่เป็นพยาธิสภาพหรือมีความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย (Biomarker of Effect)
ความผิดปกติที่เป็นพยาธิสภาพมีความสอดคล้องสัมพันธ์กับความผิดปกติทางการสัมผัสหรือไม่
ความผิดปกติทางการสัมผัสนั้นสอดคล้องหรือขัดแย้งกับผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมอย่างไร
ความผิดปกติทางการสัมผัสนั้นจะต้องดำเนินการสอบสวนและควบคุมความเสี่ยงในการสัมผัสอย่างไร
ความผิดปกติที่เป็นพยาธิสภาพนั้นเป็นโรคจากการทำงานหรือไม่และจะต้องดำเนินการรักษาและป้องกันอย่างไร
นอกจากใช้วินิจฉัยเพื่อเฝ้าระวังโรคจากการทำงานแล้ว ผลการตรวจสุขภาพยังสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ได้ว่า ความผิดปกตินั้นจะส่งผลต่อความสมบูรณ์พร้อมในการทำงานของพนักงานต่อไปข้างหน้าอย่างไร โดยต้องพิจารณาจากลักษณะการทำงานของพนักงานแต่ละคนแต่ละตำแหน่งเป็นสำคัญว่าการทำงานนั้นจะต้องใช้งานสมรรถภาพทางร่างกายอะไรบ้าง และผลตรวจที่ผิดปกติที่ตรวจพบนั้นจะส่งผลต่อสมรรถภาพทางร่างกายอย่างไรบ้าง หากพนักงานที่มีผลการตรวจสุขภาพผิดปกติแบบต่างๆไปทำงานนั้นแล้วจะเกิดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของตัวพนักงาน ความเสี่ยงต่อเพื่อนร่วมงาน และความเสี่ยงต่อทรัพย์สินของทางสถานประกอบการอย่างไรบ้าง
ภาพการประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยง จาก www.swachaservices.com
จะเห็นว่าการวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพเหล่านี้ต้องอาศัยองค์ความรู้เรื่องระบาดวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักสถิติทางการแพทย์ และการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน ของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ครับ
หลังจากการวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพ เสร็จสิ้นแล้ว ผลการวิเคราะห์สามารถนำไปใช้ประกอบ การประเมินความเสี่ยง ครั้งต่อไปร่วมกับผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมได้ครับและสามารถใช้ผลการประเมินความเสี่ยงครั้งใหม่นี้เป็นข้อมูลประกอบการปรับรายการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงปีต่อไปได้ ข้อมูลผลการวิเคราะห์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มนั้นควรถ่ายทอดกลับสู่สถานประกอบการและพนักงาน
จะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นหากดำเนินการโดยผู้มีความรู้ทางด้านสุขภาพและอาชีวเวชศาสตร์อย่างแท้จริงจะสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า เมื่อสถานประกอบการจ้างให้บริษัทตรวจสุขภาพให้ดำเนินการตรวจสุขภาพให้กับพนักงานแล้วหากไม่แน่ใจว่าบริษัทตรวจสุขภาพวิเคราะห์ข้อมูลได้ตามที่หมอบีแนะนำแล้ว สถานประกอบการควรที่จะขอข้อมูลดิบ(Raw Data) ที่เป็นดิจิตอลไฟล์ (Digital File)เก็บไว้
ภาพการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Digital File
ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการตรวจสุขภาพครั้งต่อๆไป และหาแพทย์อาชีวเวชศาสตร์วุมิบัตรหรือมีหนังสืออนุมัติที่มีความรู้และประสบการณ์มาช่วยทำการวิเคราะห์ครับ
การถ่ายทอดข้อมูลกลับ (FeedbackSystem) สู่สถานประกอบการและพนักงานเป็นขั้นตอนสุดท้ายของระบบการเฝ้าระวังโรคจากการทำงานนอกเหนือจากการคืนรูปเล่มสรุปผลการตรวจรายกลุ่มให้สถานประกอบการ และผลการตรวจรายบุคคลให้พนักงานแต่ละคนแล้ว การถ่ายทอดข้อมูลกลับควรดำเนินการอย่างเป็นระบบโดยอาศัยทักษะในการสื่อสารความเสี่ยงทางสุขภาพ (Health Risk Communication Skills) อาจดำเนินการได้โดยผู้ที่มีความรู้ด้านสุขภาพเป็นอย่างดีเช่น แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ และ/หรือ พยาบาลอาชีวอนามัย เพื่อให้พนักงานเข้าใจถึงความเสี่ยงและภาวะสุขภาพของตนเอง และนำไปดำเนินการแก้ไข รักษาและป้องกันได้ โดยไม่เกิดอาการตื่นตระหนกมีลำดับชั้นในการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม โดยตระหนักว่า
แม้สถานประกอบการจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพแต่ผลการตรวจสุขภาพของพนักงานเป็นข้อมูลที่เป็นความลับของคนพนักงานที่แพทย์และพยาบาลต้องเก็บรักษาไว้ และการนำเสนอข้อมูลในภาพรวมมีไว้เพื่อการวางแผนดูแลรักษาเท่านั้น ไม่ควรให้เกิดการกีดกันแบ่งแยก (Discrimination) ด้วยผลจากการตรวจสุขภาพ
ภาพวงจรที่สมบูรณ์ในการเฝ้าระวังโรค
หลังจากการถ่ายทอดข้อมูลกลับสู่สถานประกอบการและพนักงานแล้วควรทำให้เป็นวงจรที่สมบูรณ์
วงจรที่สมบูรณ์คือ มีการเก็บข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปภายหลังการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อลดความเสี่ยงทั้งข้อมูลผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม ข้อมูลผลการตรวจวัดการสัมผัส และข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อนำเข้าสู่การประเมินความเสี่ยงครั้งต่อไป
การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงในปัจจุบันยังกระทำเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายเท่านั้นในสถานประกอบการส่วนใหญ่ เมื่อไม่มีการนำผลการตรวจสุขภาพมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดทำให้สถานประกอบการรู้สึกว่าการตรวจสุขภาพนั้นไม่ได้รับผลตอบแทนกลับสู่สถานประกอบการอย่างคุ้มค่า
การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงนั้นจะถูกใช้ประโยชน์ได้เต็มที่เมื่อนำมาวิเคราะห์อย่างเหมาะสมสำหรับการเฝ้าระวังโรคจากการทำงานและโรคทั่วไป และสำหรับการคัดเลือกพนักงานที่มีสุขภาพสมบูรณ์พร้อมในการทำงานต่อไป ซึ่งต้องอาศัยองค์ความรู้และประสบการณ์ของวิชาชีพต่างๆ เป็นการทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพ ในการวางระบบเฝ้าระวังโรคเพื่อให้สามารถนำผลการตรวจสุขภาพมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า