Vulnerable เพราะสุขภาพแต่ละคนไม่เท่ากัน
สวัสดีครับ วันนี้หมอบีจะมาชวนคุยเกี่ยวกับความแตกต่างของสุขภาพของแต่ละคนที่มีความไวต่อโรคที่แตกต่างกัน หรือที่เรียกว่า Vulnerability เชื่อว่าทุกคนคงเข้าใจกันอยู่บ้างแล้วว่าแต่ละคนนั้นเมื่อทำงานสัมผัสกับสารเคมีแบบเดียวกันจะมีผลต่อสุขภาพที่แตกต่างกัน
เมื่อมีพนักงานที่เป็นโรคจากการทำงานขึ้นซักราย สถานประกอบการหลายแห่งมักจะมีคำถามประมาณว่า
ทำไมพนักงานคนอื่นๆที่ทำงานเดียวกันกับพนักงานคนนี้จึงไม่มีอาการผิดปกติใดๆเลย?
แท้จริงแล้วสถานประกอบการคงกำลังสงสัยว่าพนักงานคนนี้อาจไม่ได้เป็นโรคจากการทำงานอย่างที่แพทย์วินิจฉัยได้หรือไม่นั่นเอง ทั้งนี้คงต้องมาทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนนะครับว่าคนเราแต่ละคนมีโอกาสเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งคุกคามแต่ละอย่างในความเสี่ยงแต่ละระดับที่แตกต่างกันได้เสมอ
ตัวอย่างเช่น สำหรับคนที่กินยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอลเกินขนาดนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการของโรคตับอักเสบ ทั้งนี้ปัจจัยที่จะทำให้เกิดอาการหรือไม่นั้น นอกเหนือจากขนาดของยาที่รับประทานเข้าไปแล้วคงขึ้นอยู่กับ ความแข็งแรงของตับที่มีอยู่เป็นทุนเดิมของแต่ละคนด้วย บางคนสูบบุหรื่ ดื่มเหล้า รับประทานอาหารเสริม ยาสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน ยาลดความอ้วนหรือยาอื่นๆที่เป็นพิษต่อตับ หรือบางคนมีเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกายมาก่อน หรือบางคนเคยผ่าตัดตับมาก่อน ตับก็ทำงานได้น้อยกว่าปกติ ย่อมมีโอกาสเกิดพิษจากยาพาราเซตามอลมากกว่าคนทั่วไปได้นั่นเองครับ
แต่ถามว่า กรณีแบบที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นจากยาพาราเซตามอลหรือไม่?
คงต้องถามกลับไปว่า ถ้าคนนี้ไม่ได้รับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาดจะเกิดอาการขึ้นหรือเปล่านั่นเองครับ โดยสรุปแล้วผู้ป่วยรายนี้ก็ยังเป็นโรคจากการกินยาพาราเซตามอลเกินขนาดนั่นเองครับ เราเรียกคนไข้กลุ่มนี้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความไวต่อการเกิดโรค หรือ Susceptible Group นั่นเองครับ โดยกลุ่มนี้ถ้าอยู่ในภาวะปกติไม่ไปสัมผัสกับสิ่งคุกคามหรือสารเคมีต่างๆก็จะไม่เกิดโรคขึ้นนั่นเองครับ
เช่นเดียวกันกับโรคจากการทำงานต่างๆ แม้จะมีค่ามาตรฐานในการทำงานออกมาและผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม และ/หรือค่า Bio-marker of Exposure ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่ถ้าพนักงานคนนั้นเป็นกลุ่มที่มีความไวต่อการเกิดโรคร่วมกับมีอาการหรืออาการแสดงของโรคออกมาก็อาจเป็นโรคจากการทำงานได้ ซึ่งจะยากสำหรับการวินิจฉัยของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เป็นอย่างมาก แต่ทั้งนี้พนักงานที่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นควรได้รับการพิจารณาให้การดูแลเป็นพิเศษ อาจต้องพิจารณาว่าจะให้ทำงานเดิมต่อได้หรือไม่ ถ้าทำงานเดิมต่อจะทำให้อาการแย่ลงไปอีกได้หรือเปล่าหรือจะทำให้การรักษาไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรหรือไม่
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญกับการทำงานคือคนเราจะมีช่วงเวลาที่ไวต่อการเกิดโรคเป็นพิเศษ หรือที่เรียกว่า Windows of Vulnerability นั่นเองครับ ช่วงเวลาดังกล่าวได้แก่ ระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ของเพศหญิง ระยะให้นมบุตร และระยะสูงวัย เป็นต้น
ตัวอย่างของช่วงระยะเวลานี้ เช่นหญิงวัยทำงานเมื่อทำงานกับสารตะกั่วจะสัมผัสสารตะกั่วโดยมีค่ามาตรฐานในระดับหนึ่ง เมื่อทำงานไปเรื่อยๆจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆเกิดขึ้น เพราะค่ามาตรฐานในการสัมผัสยังไม่เกินที่กำหนดไว้ แต่เมื่อตั้งครรภ์ระดับตะกั่วในเลือดแม้จะไม่มากนักแต่เข้าสู่สมองของทารกในครรภ์ที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้เกิดความผิดปกติของพัฒนาการทางสมองทารกในครรภ์ หรือแม้แต่ในระยะให้นมบุตรส่งผลให้เด็กมีระดับสติปัญญาลดลงและอาจมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทเช่นอาการชัก หมดสติได้
อีกกรณีที่เห็นได้ชัดเจนที่อ่าวมินามาตะของประเทศญี่ปุ่น ที่หญิงตั้งครรภ์รับประทานปลาที่มีสารปรอทเจือปน แม้ตัวมารดาจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆแต่ลูกที่คลอดออกมาจะมีความพิการรุนแรงเกิดขึ้นได้นั่นเองครับ
โดยสรุปแล้วหมอบีอยากบอกว่าพนักงานแต่ละคนมีพื้นฐานทางสุขภาพที่แตกต่างกัน และมีความทนทานต่อการสัมผัสสิ่งคุกคามหรือความไวต่อการเกิดโรคที่ไม่เท่ากัน การเกิดโรคจากการทำงานในคนบางคนหรือบางกลุ่มไม่ได้หมายความว่าทุกคนทุกกลุ่มที่ทำงานแบบเดียวกัน เสี่ยงเหมือนกันจะต้องเกิดโรคเหมือนๆกัน และแม้ว่าสิ่งแวดล้อมในการทำงานจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแล้ว แต่คนบางกลุ่มก็อาจมีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเกิดขึ้นได้ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากร่างกายของพนักงานเองที่ต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากการทำงานที่เราทุกคนร่วมกันป้องกันได้นั่นเองครับ
เมื่อมีพนักงานที่เป็นโรคจากการทำงานขึ้นซักราย สถานประกอบการหลายแห่งมักจะมีคำถามประมาณว่า
ทำไมพนักงานคนอื่นๆที่ทำงานเดียวกันกับพนักงานคนนี้จึงไม่มีอาการผิดปกติใดๆเลย?
แท้จริงแล้วสถานประกอบการคงกำลังสงสัยว่าพนักงานคนนี้อาจไม่ได้เป็นโรคจากการทำงานอย่างที่แพทย์วินิจฉัยได้หรือไม่นั่นเอง ทั้งนี้คงต้องมาทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนนะครับว่าคนเราแต่ละคนมีโอกาสเกิดผลกระทบต่อสุขภาพจากสิ่งคุกคามแต่ละอย่างในความเสี่ยงแต่ละระดับที่แตกต่างกันได้เสมอ
ตัวอย่างเช่น สำหรับคนที่กินยาแก้ปวดลดไข้พาราเซตามอลเกินขนาดนั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการของโรคตับอักเสบ ทั้งนี้ปัจจัยที่จะทำให้เกิดอาการหรือไม่นั้น นอกเหนือจากขนาดของยาที่รับประทานเข้าไปแล้วคงขึ้นอยู่กับ ความแข็งแรงของตับที่มีอยู่เป็นทุนเดิมของแต่ละคนด้วย บางคนสูบบุหรื่ ดื่มเหล้า รับประทานอาหารเสริม ยาสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน ยาลดความอ้วนหรือยาอื่นๆที่เป็นพิษต่อตับ หรือบางคนมีเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกายมาก่อน หรือบางคนเคยผ่าตัดตับมาก่อน ตับก็ทำงานได้น้อยกว่าปกติ ย่อมมีโอกาสเกิดพิษจากยาพาราเซตามอลมากกว่าคนทั่วไปได้นั่นเองครับ
แต่ถามว่า กรณีแบบที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นจากยาพาราเซตามอลหรือไม่?
คงต้องถามกลับไปว่า ถ้าคนนี้ไม่ได้รับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาดจะเกิดอาการขึ้นหรือเปล่านั่นเองครับ โดยสรุปแล้วผู้ป่วยรายนี้ก็ยังเป็นโรคจากการกินยาพาราเซตามอลเกินขนาดนั่นเองครับ เราเรียกคนไข้กลุ่มนี้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความไวต่อการเกิดโรค หรือ Susceptible Group นั่นเองครับ โดยกลุ่มนี้ถ้าอยู่ในภาวะปกติไม่ไปสัมผัสกับสิ่งคุกคามหรือสารเคมีต่างๆก็จะไม่เกิดโรคขึ้นนั่นเองครับ
เช่นเดียวกันกับโรคจากการทำงานต่างๆ แม้จะมีค่ามาตรฐานในการทำงานออกมาและผลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม และ/หรือค่า Bio-marker of Exposure ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่ถ้าพนักงานคนนั้นเป็นกลุ่มที่มีความไวต่อการเกิดโรคร่วมกับมีอาการหรืออาการแสดงของโรคออกมาก็อาจเป็นโรคจากการทำงานได้ ซึ่งจะยากสำหรับการวินิจฉัยของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เป็นอย่างมาก แต่ทั้งนี้พนักงานที่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นควรได้รับการพิจารณาให้การดูแลเป็นพิเศษ อาจต้องพิจารณาว่าจะให้ทำงานเดิมต่อได้หรือไม่ ถ้าทำงานเดิมต่อจะทำให้อาการแย่ลงไปอีกได้หรือเปล่าหรือจะทำให้การรักษาไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรหรือไม่
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญกับการทำงานคือคนเราจะมีช่วงเวลาที่ไวต่อการเกิดโรคเป็นพิเศษ หรือที่เรียกว่า Windows of Vulnerability นั่นเองครับ ช่วงเวลาดังกล่าวได้แก่ ระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ของเพศหญิง ระยะให้นมบุตร และระยะสูงวัย เป็นต้น
ภาพเด็กที่ป่วยด้วยโรคพิษตะกั่ว จาก www.bbc.co.uk
ตัวอย่างของช่วงระยะเวลานี้ เช่นหญิงวัยทำงานเมื่อทำงานกับสารตะกั่วจะสัมผัสสารตะกั่วโดยมีค่ามาตรฐานในระดับหนึ่ง เมื่อทำงานไปเรื่อยๆจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆเกิดขึ้น เพราะค่ามาตรฐานในการสัมผัสยังไม่เกินที่กำหนดไว้ แต่เมื่อตั้งครรภ์ระดับตะกั่วในเลือดแม้จะไม่มากนักแต่เข้าสู่สมองของทารกในครรภ์ที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ทำให้เกิดความผิดปกติของพัฒนาการทางสมองทารกในครรภ์ หรือแม้แต่ในระยะให้นมบุตรส่งผลให้เด็กมีระดับสติปัญญาลดลงและอาจมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทเช่นอาการชัก หมดสติได้
อีกกรณีที่เห็นได้ชัดเจนที่อ่าวมินามาตะของประเทศญี่ปุ่น ที่หญิงตั้งครรภ์รับประทานปลาที่มีสารปรอทเจือปน แม้ตัวมารดาจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆแต่ลูกที่คลอดออกมาจะมีความพิการรุนแรงเกิดขึ้นได้นั่นเองครับ
โดยสรุปแล้วหมอบีอยากบอกว่าพนักงานแต่ละคนมีพื้นฐานทางสุขภาพที่แตกต่างกัน และมีความทนทานต่อการสัมผัสสิ่งคุกคามหรือความไวต่อการเกิดโรคที่ไม่เท่ากัน การเกิดโรคจากการทำงานในคนบางคนหรือบางกลุ่มไม่ได้หมายความว่าทุกคนทุกกลุ่มที่ทำงานแบบเดียวกัน เสี่ยงเหมือนกันจะต้องเกิดโรคเหมือนๆกัน และแม้ว่าสิ่งแวดล้อมในการทำงานจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแล้ว แต่คนบางกลุ่มก็อาจมีอาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเกิดขึ้นได้ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากร่างกายของพนักงานเองที่ต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากการทำงานที่เราทุกคนร่วมกันป้องกันได้นั่นเองครับ