พารามิเตอร์การตรวจสุขภาพน่ารู้ 2 การทำงานของตับ
สวัสดีครับ จากครั้งก่อนหมอบีแนะนำเกี่ยวกับการตรวจการทำงานของไตจากการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง วันนี้หมอบีจะมาชวนคุยต่อเกี่ยวกับอีกพารามิเตอร์รายการตรวจที่นิยมตรวจประจำปีกันครับ ได้แก่การตรวจการทำงานของตับ (Liver Function Tests, LFTs) หรือการตรวจเอนไซม์ตับ (Enzymes Test) นั่นเอง
กลับไปอ่านรายละเอียด การตรวจการทำงานของไตได้ที่นี่ครับ http://www.doctor-bee.net/2018/07/1.html
การตรวจการทำงานของตับนั้น ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องจะเป็นการตรวจเอนไซม์ของตับ ซึ่งหากตับทำงานได้ปกติดีจะผลิตเอนไซม์ดังกล่าวออกมาในระดับที่ปกติ แต่หากมีความผิดปกติของโรคตับจะมีการผลิตเอนไซม์มากกว่าปกติ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของโรคตับที่เป็นครับ ซึ่งหากแบ่งให้ถูกต้องแล้ว
การตรวจเอนไซม์ของตับ (Enzymes Test) นิยมนำมาใช้ในการตรวจเฝ้าระวังโรคตับในงานอาชีวอนามัยบ้านเรามานาน ที่นิยมทำการตรวจได้แก่
1.Alanine Aminotransferase, ALT หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Serum Glutamic-Pyruvic Transaminase, SGPT
2.Aspartate Aminotransferase, AST หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Serum Oxalo-Acetic Transaminase, SGOT
3.Alkaline Phosphatase, ALP
4.Gamma Glutamyl Transpeptidase, GGT
สำหรับการตรวจการทำงานของตับ (Test of Liver Function) ไม่ค่อยใช้ในการตรวจคัดกรองในงานอาชีวอนามัยนัก แต่บางสถานประกอบการอาจตรวจบางรายการ เช่น Serum Albumin, Prothombin Time,PT Serum Bilirubin
สถานประกอบการส่วนใหญ่นิยมตรวจ ALT หรือ SGPT ควบคู่ไปกับ AST หรือ SGOT หลายสถานประกอบการอาจตรวจ ALP ควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้บางแห่งอาจมีการตรวจ GGT และ Test of Liver Function ร่วมด้วย โดยหากพบความผิดปกติคือมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานทางห้องปฏิบัติการควรพิจารณาดำเนินการต่อ
หมอบีแนะนำให้แบ่งกลุ่ม LFTs สำหรับผลตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจตามปัจจัยเสี่ยงแต่ละรายการอย่างง่าย ดังนี้ครับ
1.ปกติ คือไม่เกินค่ามาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ
2.สูงเล็กน้อย คือสูงกว่าค่ามาตรฐานแต่ไม่เกิน 2 เท่า ควรพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ หรือแพทย์ทั่วไปซักประวัติตรวจร่างกายหาความผิดปกติของโรคตับ หากพบความผิดปกติควรพิจารณาส่งพบอายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารตรวจวินิจฉัยและรักษา และพิจารณาทบทวนการสัมผัสสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อตับในสถานที่ทำงาน
3.สูงปานกลาง คือ>= 2 เท่าของค่ามาตรฐานแต่ไม่เกิน 5 เท่า ตรวจการทำงานของตับซ้ำภายใน 2-8 สัปดาห์ (2 สัปดาห์สำหรับ AST และ ALT, 4 สัปดาห์สำหรับ ALP, 8 สัปดาห์สำหรับ GGT ร่วมกับพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ หรือแพทย์ทั่วไปซักประวัติตรวจร่างกายหาความผิดปกติของโรคตับ หากพบความผิดปกติ หรือผลตรวจการทำงานของตับซ้ำผิดปกติควรพิจารณาส่งพบอายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารตรวจวินิจฉัยและรักษา และพิจารณาทบทวนการสัมผัสสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อตับในสถานที่ทำงาน
4.สูงมาก คือ>= 5 เท่าของค่ามาตรฐาน ส่งพบอายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารตรวจวินิจฉัยและรักษาทันที และพิจารณาทบทวนการสัมผัสสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อตับในสถานที่ทำงาน
ทั้งนี้ผลตรวจ LFTs แต่ละรายการจะแสดงถึงโรคตับต่างชนิดกัน ได้แก่ โรคตับอักเสบ โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งท่อน้ำดีตับ โรคตับแข็ง ซึ่งแพทย์จะมีแนวทางการตรวจเพิ่มเติมวินิจฉัยโรคต่อไปครับ
ในเบื้องต้นอาจแบ่งโรคตับออกเป็นสามกลุ่ม โดยอาศัยค่าสัดส่วนของ ALT หารด้วยค่าสัดส่วนของ ALP เพื่อพิจารณาว่าเป็นโรคตับกลุ่ม Parenchymatous Disease หรือกลุ่ม Cholestatic Liver Disease หรือกลุ่มผสม Mixed ซึ่งมีแนวทางการตรวจวินิจฉัยแยกโรคที่แตกต่างกัน
หมอบีแนะนำว่า
1.กรณีตรวจตามปัจจัยเสี่ยง ตามกฎหมายต้องสรุปว่าที่ผิดปกตินั้นเกิดจากการทำงานหรือไม่ ควรส่งพบแพทย์เฉพาะทางวินิจฉัยรักษา และประเมินว่ามีผลกระทบต่อการทำงานหรือไม่
2.กรณีตรวจประจำปีเพื่อเป็นสวัสดิการ เมื่อผิดปกติควรส่งพบแพทย์เฉพาะทางวินิจฉัยรักษา และประเมินว่ามีผลกระทบต่อการทำงานหรือไม่
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว บ่อยครั้งที่หมอบีพบว่า พนักงานบางรายอาจมีค่า LFTs สูงเรื้อรัง โดยเมื่อเทียบกับผลตรวจย้อนหลัง หลายๆปีพบว่ามีค่าที่สูงตลอดเวลา ไม่มีอาการและอาการแสดงของโรคตับจากการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ กรณีนี้หากเคยพบแพทย์เฉพาะทางแล้วตรวจไม่พบโรค อาจไม่ต้องส่งพบแพทย์เฉพาะทางทุกปีแต่ให้เฝ้าระวังอาการโรคตับ และปฏิบัติตัวตามที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำกก็เพียงพอครับ
กลับไปอ่านรายละเอียด การตรวจการทำงานของไตได้ที่นี่ครับ http://www.doctor-bee.net/2018/07/1.html
การตรวจการทำงานของตับนั้น ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องจะเป็นการตรวจเอนไซม์ของตับ ซึ่งหากตับทำงานได้ปกติดีจะผลิตเอนไซม์ดังกล่าวออกมาในระดับที่ปกติ แต่หากมีความผิดปกติของโรคตับจะมีการผลิตเอนไซม์มากกว่าปกติ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของโรคตับที่เป็นครับ ซึ่งหากแบ่งให้ถูกต้องแล้ว
LFTs จะประกอบด้วย การตรวจเอนไซม์ของตับ (Enzymes Test) และการตรวจการทำงานของตับ (Test of Liver Function)
การตรวจเอนไซม์ของตับ (Enzymes Test) นิยมนำมาใช้ในการตรวจเฝ้าระวังโรคตับในงานอาชีวอนามัยบ้านเรามานาน ที่นิยมทำการตรวจได้แก่
1.Alanine Aminotransferase, ALT หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Serum Glutamic-Pyruvic Transaminase, SGPT
2.Aspartate Aminotransferase, AST หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Serum Oxalo-Acetic Transaminase, SGOT
3.Alkaline Phosphatase, ALP
4.Gamma Glutamyl Transpeptidase, GGT
สำหรับการตรวจการทำงานของตับ (Test of Liver Function) ไม่ค่อยใช้ในการตรวจคัดกรองในงานอาชีวอนามัยนัก แต่บางสถานประกอบการอาจตรวจบางรายการ เช่น Serum Albumin, Prothombin Time,PT Serum Bilirubin
รายละเอียดของ LFTs
สถานประกอบการส่วนใหญ่นิยมตรวจ ALT หรือ SGPT ควบคู่ไปกับ AST หรือ SGOT หลายสถานประกอบการอาจตรวจ ALP ควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้บางแห่งอาจมีการตรวจ GGT และ Test of Liver Function ร่วมด้วย โดยหากพบความผิดปกติคือมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานทางห้องปฏิบัติการควรพิจารณาดำเนินการต่อ
หมอบีแนะนำให้แบ่งกลุ่ม LFTs สำหรับผลตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจตามปัจจัยเสี่ยงแต่ละรายการอย่างง่าย ดังนี้ครับ
1.ปกติ คือไม่เกินค่ามาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ
2.สูงเล็กน้อย คือสูงกว่าค่ามาตรฐานแต่ไม่เกิน 2 เท่า ควรพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ หรือแพทย์ทั่วไปซักประวัติตรวจร่างกายหาความผิดปกติของโรคตับ หากพบความผิดปกติควรพิจารณาส่งพบอายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารตรวจวินิจฉัยและรักษา และพิจารณาทบทวนการสัมผัสสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อตับในสถานที่ทำงาน
3.สูงปานกลาง คือ>= 2 เท่าของค่ามาตรฐานแต่ไม่เกิน 5 เท่า ตรวจการทำงานของตับซ้ำภายใน 2-8 สัปดาห์ (2 สัปดาห์สำหรับ AST และ ALT, 4 สัปดาห์สำหรับ ALP, 8 สัปดาห์สำหรับ GGT ร่วมกับพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ หรือแพทย์ทั่วไปซักประวัติตรวจร่างกายหาความผิดปกติของโรคตับ หากพบความผิดปกติ หรือผลตรวจการทำงานของตับซ้ำผิดปกติควรพิจารณาส่งพบอายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารตรวจวินิจฉัยและรักษา และพิจารณาทบทวนการสัมผัสสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อตับในสถานที่ทำงาน
4.สูงมาก คือ>= 5 เท่าของค่ามาตรฐาน ส่งพบอายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารตรวจวินิจฉัยและรักษาทันที และพิจารณาทบทวนการสัมผัสสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อตับในสถานที่ทำงาน
ทั้งนี้ผลตรวจ LFTs แต่ละรายการจะแสดงถึงโรคตับต่างชนิดกัน ได้แก่ โรคตับอักเสบ โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งท่อน้ำดีตับ โรคตับแข็ง ซึ่งแพทย์จะมีแนวทางการตรวจเพิ่มเติมวินิจฉัยโรคต่อไปครับ
ในเบื้องต้นอาจแบ่งโรคตับออกเป็นสามกลุ่ม โดยอาศัยค่าสัดส่วนของ ALT หารด้วยค่าสัดส่วนของ ALP เพื่อพิจารณาว่าเป็นโรคตับกลุ่ม Parenchymatous Disease หรือกลุ่ม Cholestatic Liver Disease หรือกลุ่มผสม Mixed ซึ่งมีแนวทางการตรวจวินิจฉัยแยกโรคที่แตกต่างกัน
หมอบีแนะนำว่า
การตรวจ LFTs นั้นควรมีความชัดเจนว่าตรวจตามปัจจัยเสี่ยง หรือตรวจประจำปีเพื่อเป็นสวัสดิการให้พนักงาน
1.กรณีตรวจตามปัจจัยเสี่ยง ตามกฎหมายต้องสรุปว่าที่ผิดปกตินั้นเกิดจากการทำงานหรือไม่ ควรส่งพบแพทย์เฉพาะทางวินิจฉัยรักษา และประเมินว่ามีผลกระทบต่อการทำงานหรือไม่
2.กรณีตรวจประจำปีเพื่อเป็นสวัสดิการ เมื่อผิดปกติควรส่งพบแพทย์เฉพาะทางวินิจฉัยรักษา และประเมินว่ามีผลกระทบต่อการทำงานหรือไม่
นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว บ่อยครั้งที่หมอบีพบว่า พนักงานบางรายอาจมีค่า LFTs สูงเรื้อรัง โดยเมื่อเทียบกับผลตรวจย้อนหลัง หลายๆปีพบว่ามีค่าที่สูงตลอดเวลา ไม่มีอาการและอาการแสดงของโรคตับจากการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ กรณีนี้หากเคยพบแพทย์เฉพาะทางแล้วตรวจไม่พบโรค อาจไม่ต้องส่งพบแพทย์เฉพาะทางทุกปีแต่ให้เฝ้าระวังอาการโรคตับ และปฏิบัติตัวตามที่แพทย์เฉพาะทางแนะนำกก็เพียงพอครับ